แตกต่างกัน ระหว่าง “อุปกรณ์ตรวจสอบสภาพโครงสร้างอาคาร” กับ “อุปกรณ์เตือนภัย”
จากกรณีที่กำลังเป็นกระแสในสังคม เกี่ยวกับการที่สภากรุงเทพมหานคร ไม่อนุมัติ
“งานจ้างที่ปรึกษาประเมินกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวอาคารสูงในสังกัดกรุงเทพมหานคร”
วงเงิน ๙ ล้านบาท ตามสื่อโซเชียลต่างๆ ผมขอตั้งข้อสังเกต โดยแยกเป็นประเด็นๆ ดังนี้
1. งานจ้างที่ปรึกษาฯ ดังกล่าว เป็นการจ้างที่ปรึกษา เพื่อหาแนวทางในการติดตั้งอุปกรณ์ สำหรับตรวจสอบสภาพของโครงสร้างอาคาร ว่าได้รับผลกระทบจากลมพายุ หรือแผ่นดินไหว มากน้อยเพียงใด (หลังจากลมพายุ หรือแผ่นดินไหวแล้ว) ซึ่งจะนำไปสู่การประเมินว่า จะยังคงสามารถใช้งานอาคารดังกล่าวต่อไปได้อีกหรือไม่ การศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาตามงานจ้างดังกล่าวฯ มิใช่การศึกษา ว่าจะติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อเป็นระบบเตือนภัย เมื่อเกิดลมพายุ หรือแผ่นดินไหว
2. รายละเอียดการว่างจ้างที่ปรึกษา ในงานจ้างดังกล่าวนั้น กำหนดให้ติดตั้งอุปกรณ์ ณ 6 อาคาร ซึ่งเป็นการศึกษา ณ อาคาร ที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร เท่านั้น หากงานจ้างดังกล่าว ได้รับการอนุมัติ (คือผ่านการพิจารณาของสภากรุงเทพ) ก็จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ณ 6 อาคาร ข้างต้น ที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงเป็นอาคารอื่นๆ ก็ได้ แต่ต้องเป็นอาคารที่อยู่ในสังกัดของกรุงเทพมหานคร เช่นกัน คงไม่สามารถไปติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว ในอาคารที่เป็นของหน่วยงานอื่น เช่น สตง. อาคารปัจจุบัน หรืออาคารที่ถล่มไป เมื่อวันที่เกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 หรืออาคารของเอกชน โดยไม่ได้รับอนุญาต
3. การพิจารณาไม่อนุมัติการจ้างงานดังกล่าวนั้น คณะอนุกรรม เป็นผู้ศึกษารายละเอียดงานจ้างดังกล่าว แล้วจึงเสนอความเห็นไปยังคณะกรรมการ ซึ่งมีทั้งคณะกรรมการที่เห็นด้วยกับอนุกรรมการ (ให้ตัด) และไม่เห็นด้วยกับอนุกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการได้ลงมติด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่ง เห็นชอบตามที่อนุกรรมการเสนอ นั่นคือให้ตัด
จากกรณี สำนักงาน สตง พังถล่ม จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวัน ศุกร์ ที่ 28 มีนาคม 2568 นั้น ผมจึงคิดว่าไม่มีประเด็นใด เกี่ยวข้องกับการไม่อนุมัติงานจ้างดังกล่าว เนื่องจาก
- การว่างจ้างงานดังกล่าว เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ วัดผลกระทบ และแรงสั่นสะเทือน ที่เกิดขึ้น หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว มิใช่การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย หาดมีการอนุมัติ ก็จะติดตั้งใน 6 อาคาร ตามโครงการ เพื่อประเมินสภาพอาคาร หลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้นเท่านั้น
- หากงานจ้างดังกล่าว ได้รับการอนุมัติ ก็ไม่สามารถติดตั้งในอาคาร สตง ที่พังถล่มได้ อยู่ดี เนื่องจาก ณ ขณะที่งานจ้าง ได้รับการอนุมติ อาคาร สตง ดังกล่าว ยังสร้าง ไม่เสร็จสมบูรณ์
- หากงานจ้างดังกล่าว ได้รับการอนุมัติ และอาคารสำนักงาน สวตง ดังกล่าว สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่วได้ เนื่องจาก อาคารดังกล่าวเป็นของหน่วยงานอิสระ มิใช่หน่วยงานในสังกัดของกรุงเทพมหานคร และทาง สตง อาจจะไม่อนุมัติให้ติดตั้ง ก็เป็นไปได้
ผมเขียนจากข้อมูล และรายละเอียดที่ผมได้รับ หากท่านใด มีข้อมูล หรือรายละเอียดมากกว่า ชัดเจนกว่า และเป็นการหักล้างข้อมูลที่ผมมี และชี้ให้เห็นว่าผมเข้าใจผิด ผมยินดีรับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อมูลนะครับ แต่กรุณาอย่าแสดงความเห็นด้วยอารมณ์ ไม่อ้างอิงอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล และข้อเท็จจริง นะครับ